ไขข้อสงสัย บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันยังไง แบบไหนเด่นด้านไหน?

สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน เพื่อให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ในประเทศไทยมีสิทธิการรักษาพยาบาลหลักๆ อยู่ 2 ประเภท คือ บัตรทอง (หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) และประกันสังคม หลายคนอาจยังสงสัยว่าสิทธิทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

วันนี้เราก็จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจกันซักหน่อยว่า ไขข้อสงสัย บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันยังไง แต่ละแบบมีลักษณะโดดเด่นด้านไหนมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย

บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันยังไง บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันยังไง

ไขข้อสงสัย บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันยังไง แบบไหนเด่นด้านไหน?

บัตรทอง (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

บัตรทองเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนไทยทุกคน ที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นจากรัฐ เช่น ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ หรือสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจ

ประกันสังคม

ประกันสังคมเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนได้รับจากการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยผู้ประกันตนคือลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

ความแตกต่างของ บัตรทอง กับ ประกันสังคม

บัตรทอง

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนหน่วยงานหรือสถานพยาบาลประจำเเล้วใช้สิทธิได้ทันที
  • ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ เจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าสถานพยาบาลรัฐเเละเอกชนที่อยู่ใกล้
  • การย้ายสิทธิสถานพยาบาลทำได้ 4 ครั้งต่อปี
  • ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีวงเงิน
  • ค่าอาหารเเละค่าห้องสามัญ
  • รักษามะเร็งทุกชนิด
  • เจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถรับยาได้ใกล้บ้าน ที่ร้านยาที่เข้าร่วม แตกต่างจากประกันสังคมที่ต้องไปรพ. ที่ลงทะเบียนสิทธิไว้
  • ได้เพียงสิทธิรักษาฟรี ไม่มีเงินชดเชยว่างงานเหมือนประกันสังคม

วงเงินค่ายาเป็นไปตามที่รัฐกำหนด หากผู้ใช้สิทธิต้องการใช้ยาชนิดที่ผลข้างเคียงน้อย จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

สิทธิประโยชน์

  • ครอบคลุมการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  • ครอบคลุมการรักษาโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง
  • ครอบคลุมการผ่าตัดและการคลอดบุตร
  • ครอบคลุมการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ

เงื่อนไขการใช้สิทธิ

  • ผู้มีสิทธิบัตรทองต้องเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิที่ได้ลงทะเบียนไว้ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือคลินิกชุมชน หากมีความจำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่น จะต้องมีใบส่งตัวจากสถานพยาบาลปฐมภูมิ
  • ผู้มีสิทธิบัตรทองสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ยกเว้นบางกรณีที่อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนเกิน เช่น ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

ข้อจำกัด

  • ผู้มีสิทธิบัตรทองอาจต้องรอคิวนานกว่าผู้ที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่น
  • การเข้าถึงบริการทางการแพทย์บางอย่างอาจมีข้อจำกัด เช่น การทำศัลยกรรมเสริมความงาม

ประกันสังคม

  • ประกันสังคม ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขถึงจะสามารถใช้สิทธิได้
  • ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้ กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  • การย้ายสิทธิสถานพยาบาล ย้ายได้ปีละครั้ง
  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาทต่อปี
  • ค่าห้องเเละค่าอาหาร ไม่เกิน 700 ต่อวัน
  • ได้รับชดเชย กรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต
  • มะเร็งสามารถรักษาฟรี ครอบคลุมมะเร็งทั้งสิ้น 20 ชนิด กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา สามารถเบิกได้ปีละ 5 หมื่นบาท

สิทธิประโยชน์

  • ครอบคลุมการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  • ครอบคลุมการรักษาโรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง
  • ครอบคลุมการผ่าตัดและการคลอดบุตร
  • ครอบคลุมการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ
  • นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การลาป่วย การลาคลอด เงินทดแทนการว่างงาน เงินสงเคราะห์บุตร และเงินบำนาญชราภาพ

เงื่อนไขการใช้สิทธิ

  • ผู้ประกันตนต้องเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้กับประกันสังคม
  • ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในกรณีที่เข้ารับบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด

ข้อจำกัด

  • ผู้ประกันตนอาจต้องรอคิวนานกว่าผู้ที่ใช้สิทธิรักษาพยาบาลอื่น
  • การเข้าถึงบริการทางการแพทย์บางอย่างอาจมีข้อจำกัด เช่น การทำศัลยกรรมเสริมความงาม

บัตรทองมีได้ทุกคน หากไม่มีสวัสดิการอื่นของรัฐ ส่วนพนักงานบริษัทได้สิทธิประกันสังคมอัตโนมัติ แต่หากมีประกันสังคมแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ กรณีลาออกจากงาน และไม่อยากส่งประกันสังคมต่อ (ประกันสังคม มาตรา 39) สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ แต่ต้องลงทะเบียนใช้สิทธิก่อน