ในประเทศไทย ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2568 มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 67,084 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 103.35 ต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ
ขณะที่สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ 4 จังหวัด เขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์ พบว่า ปี 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2568 มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สะสม 5,922 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 89.74 ต่อประชากรแสนคน และเสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.03 ต่อแสนประชากร โดยเป็นผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ คือกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี ตามลำดับ
ซึ่งเมื่อเทียบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน พบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ อ.เขวาสินรินทร์ (อ่านว่า เขฺวา-สิน-ริน) จ.สุรินทร์ ป่วย 146 ราย คิดเป็นอัตรา 434.59 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ป่วย 224 ราย คิดเป็นอัตรา 322 ต่อประชากรแสนคน
และ อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ป่วย 1,124 ราย คิดเป็นอัตรา 241.42 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้ ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังมีอีก 5 อำเภอที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก ได้แก่ อ.เทพารักษ์ ป่วย 60 ราย, อ.บ้านเหลื่อม ป่วย 38 ราย, อ.ประทาย ป่วย 137 ราย, อ.ชุมพวง ป่วย 134 ราย และ อ.ขามสะแกแสง 61 ราย
และใช้มาตรการ ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด ได้แก่ 1. ปิด คือปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย 2. ล้าง คือล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันใด ราวบนรถโดยสาร ปุ่มกดลิฟต์ 3. เลี่ยง คือหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และ 4. หยุด คือเมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด