ม้วนเดียวจบ! ย้อนไทม์ไลน์ 4 แม่ทัพ สตง. ยุคสร้าง “ตึกพันล้าน” ที่ไม่อาจต้านแผ่นดินไหว

ย้อนดู 4 แม่ทัพ สตง. ผู้พิทักษ์ทรัพย์แผ่นดิน กับการก่อสร้าง “ตึกพันล้าน” ที่ไม่อาจต้านแรงแผ่นดินไหว

เหตุการณ์ ตึก 30 ชั้น ที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างด้วยงบประมาณ 2,136 ล้านบาท บนถนนกำแพงเพชร 2 ใกล้ตลาดนัดส่วนจตุจักร ที่ถล่มลงมาวันที่28 มี.ค.ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิต และสูญหายอีกจำนวนมาก กลายเป็น ‘อาฟเตอร์ช็อก’ ที่เสียหายที่สุดในไทยจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมาอาคารดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง “บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)” และ “บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด” โดยได้รับการอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ต้นปี 2563 ก่อนจะเริ่มก่อสร้างจริงในช่วงต้นปี 2564 โดยมีกำหนดสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธ.ค. 2566

แม้ด้านหนึ่งยังถือว่าโชคดี ที่โครงการดังกล่าวใช้เวลาก่อสร้างเกินกำหนดเดิมมาแล้วกว่า 1 ปี ไม่งั้นผู้คนในสตง.อาจประสบชะตากรรมกับเหตุการณ์นี้ หากแต่จากเหตุการณ์นี้ อาคาร สตง.ที่กำลังก่อสร้าง ถือเป็นอาคารในประเทศไทยแห่งเดียวที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทำให้เกิดคำถามมากมาย ว่าเหตุใดโครงการของรัฐที่ใช้งบประมาณหลักพันล้านบาทจึงไม่สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวนี้ได้

ทำให้ สตง.กลายเป็น “ตำบลกระสุนตก” ถูกตั้งคำถามมากมายแม้จะมีการออกมาชี้แจงยืนยันว่าโครงการนี้ที่มีการเซ็นต์สัญญานในสมัย ของ “ประจักษ์ บุญยัง” ผู้ว่าสตง.คนก่อนดำเนินการอย่างถูกต้องโปร่งใส แต่ยังคงเสียโจมตี จน สตง.ต้องออกมาชี้แจงหลายรอบ โดยล่าสุดได้มีสารจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน “มณเฑียร เจริญผล” ถึงพนง. กรณีแผ่นดินไหว ตึกถล่ม พ้อถูกวิจารณ์ไม่เป็นธรรม โดยเนื้อหาทำนอง สูดลมหายใจลึก ๆ กุมมือกันให้แน่น และก้าวไปพร้อมๆ กันยืนยันถึงจุดยืนขององค์กรในความซื่อสัตย์สุจริต

กระนั้นเมื่อย้อนกลับไปดูบทบาทของ สตง.ที่มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล โดยมี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหัวหน้าสำนักงานนั้น พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540กำหนดให้เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ในเวลาต่อมา

  •  ข้อมูลแน่น! สส.แบงค์ เปิดชื่อคน 4 กลุ่ม ชี้เป้าตรวจสอบ “ตึกเดียว” ที่ถล่ม ลั่นต้องมีผู้รับผิดชอบ
    ของจริง! ผู้ว่าฯ สตง.ออกจดหมายเวียน ตัดพ้อตึกถล่ม #แผ่นดินไหว ไม่ได้รับความเป็นธรรม

โดย หลัง รธน.40 มีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแต่ประสบปัญหาล่าช้า เนื่องจากผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีการเสนอชื่อ “คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา” เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก โดยหลังการรัฐประหารในปี 2549มีการตั้ง “ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) และให้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

กระทั่งใน พ.ศ. 2553 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ว่าพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปี โดย พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็น ผู้ว่า สตง.คนถัดมา ได้เรียกร้องให้คุณหญิงจารุวรรณปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว จนเกิดความขัดแย้งกันภายใน สตง. กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ สิ้นสุดลงเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว ซึ่งบทบาทของ สตง.ในยุคของ “พิศิษฐ์” ถือว่ามีการตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินอย่างเข้มข้นจนได้รับความน่าเชื่อถือ

จนมีครั้งหนึ่งที่ “พล.อ.เปรม” อดีตประธานองค์มนตรีเคยไปปพูดงานงานของ สตง.ในประโยคอมตะ “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” แม้กระนั้น ในยุคของ “พิศิษฐ์” ที่มี ประจักษ์ บุญยัง อดีตผู้ว่า สตง.คนก่อน ที่เป็นผู้เซ็นต์สัญญาสร้างตึก สตง.ก็ยังถูกโจมตีจากฝ่ายเสียผลประโยชน์ จนเคยถูกร้องไปยัง ปปช. เรื่องการสั่งยกเลิกการไปดูงานแต่ ปปช.ก็สรุปว่าไม่มีความผิด กระทั่งมาถึงยุค ของ “มณเฑียร เจริญผล” ผู้ว่า สตง.คนปัจจุบันที่ถือเป็น “ลูกหม้อ สตง.” เพราะเป็น รองผู้ว่า สตง.ในยุคประจักษ์ ที่กำลังเผชิญกับกระแส “ตีกลับ” รุมถล่ม ย้อนศรบทบาทเข้มข้นการตรวจสอบฝ่ายต่างๆที่ผ่านมา