รายงานดังกล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเตรียมพร้อม เนื่องจากภูเขาไฟฟูจิเคยปะทุครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1707 หรือเมื่อ 318 ปีก่อน โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการปะทุในระดับเดียวกันอาจส่งผลให้เถ้าถ่านปกคลุมพื้นที่เป็นวงกว้างในกรุงโตเกียว จังหวัดคานากาวะ และพื้นที่อื่นๆ หนาถึง 10 เซนติเมตรขึ้นไป
เตรียมรับมือ เถ้าถ่าน ปกคลุมวงกว้าง
คณะกรรมาธิการชี้ว่า การอพยพประชาชนจำนวนมากในกรุงโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงอย่างรวดเร็วอาจเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำดังนี้
พื้นที่เถ้าถ่านไม่เกิน 30 ซม.: ประชาชนควรหลบภัยอยู่ในที่พักอาศัยหรือสถานที่ปลอดภัยอื่นๆ
โครงสร้างพื้นฐาน: หน่วยงานท้องถิ่นและภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาและซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
พื้นที่เถ้าถ่าน 30 ซม. ขึ้นไป: ประชาชนต้องอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่บ้านไม้จะพังถล่มจากน้ำหนักของเถ้าถ่านที่เปียกฝนกลุ่มเปราะบาง: ผู้ที่ต้องฟอกไตหรือได้รับการดูแลพยาบาล ควรเริ่มอพยพเมื่อเถ้าถ่านสะสมถึง 3 ซม. และไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน
รัฐบาลเร่งวางระบบแจ้งเตือนและเส้นทางอพยพ
คณะกรรมการยังได้เสนอแนะให้รัฐบาลจัดตั้งระบบการเผยแพร่ข้อมูลที่แม่นยำ รวมถึงการคาดการณ์การกระจายตัวของเถ้าถ่านจากภูเขาไฟ พร้อมทั้งกำหนดเส้นทางอพยพที่ชัดเจนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่นประธานคณะกรรมการย้ำความสำคัญของการเตรียมพร้อมศาสตราจารย์กิตติคุณฟูจิอิ โทชิสึงุ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ในฐานะประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่เคยเผชิญกับสถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดและเถ้าถ่านปกคลุมพื้นที่ในวงกว้างในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นประเทศจึงจำเป็นต้องเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติในลักษณะนี้อย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้