หลายคนคิดว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้นที่ทำทำร้ายตับ แต่จริงๆ มีผู้ป่วยโรคตับบางคนที่ไม่ดื่มเหล้าเลย เช่นเดียวกับ “คุณเฉิน” ชายชาวจีนคนหนึ่งที่ไม่ได้ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ แต่เขามีปัญหาสุขภาพที่หนักถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับ
ในตอนที่อายุ 33 ปี คุณเฉินเริ่มรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ แต่ไม่ใส่ใจและไม่รักษา ต่อมาอายุ 47 ปี เขาต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน เพราะอาเจียนเป็นเลือดและปวดท้องรุนแรง ผลการตรวจพบว่าตับของเขาหดตัวเหลือแค่ 1 ใน 3 ของขนาดเดิม และมีอาการตับแข็งอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้เขาต้องรอคิวเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนตับ
แพทย์อธิบายว่า “โรคตับไขมันแม้จะเริ่มต้นจากอาการไม่รุนแรง แต่หากไม่รักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มันจะทำให้เกิดตับแข็งได้เร็วขึ้น โดยเฉลี่ยทุกๆ 7.7 ปี โรคตับแข็งจะทวีความรุนแรง และอาจถึงขั้นตับแข็งเต็มที่ภายใน 30 ปี”
เหตุผลที่ทำให้โรคตับของคุณเฉินลุกลาม คือการที่เขาชอบดื่มน้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ทั้งน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเยอะ แม้จะได้รับคำเตือนจากแพทย์ว่าเครื่องดื่มเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคตับไขมัน เขาก็ยังคงดื่มต่อไป
“การดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักของโรคตับไขมันที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับ ส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ เกิดการอักเสบ และอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง” คุณหมออธิบาย
นอกจากโรคตับแล้ว การดื่มน้ำหวานยังสามารถนำไปสู่โรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจได้ และคนที่มีโรคไขมันพอกตับจากการดื่มน้ำหวาน จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ตับแข็ง หรือภาวะตับล้มเหลว ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิต โดยโรคไขมันพอกตับมักมีอาการเหนื่อยล้า ปวดท้องข้างขวา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผิวหรือดวงตาเป็นสีเหลือง และมีระดับเอนไซม์ตับสูงในการตรวจเลือด
เพื่อป้องกันโรคไขมันพอกตับ และโรคตับอื่นๆ คุณหมอแนะนำให้รักษารูปแบบการรับประทานอาหารที่ดี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ควบคุมการลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินความจำเป็นหรือการบริโภคอาหารที่เป็นอันตราย
- หมอเตือนแล้ว 3 เครื่องดื่ม “แย่ที่สุด” เพิ่มเสี่ยงอัลไซเมอร์ ส่งผลเสียต่อสมองมากที่สุด!
ร้องเอ๊า!!! แพทย์เผย “ความจริง” นมช่วยเสริมกระดูกหรือไม่ และ “ข้อเสีย” ที่คนดื่มอาจไม่รู้